วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ที่มาข้อมูล

                        http://www.pantown.com/board.php?id=5111&area=1&name=board1&topic=13&action=view
                        http://www.thaigoodview.com/node/8716
                        http://www.geocities.com/vilaiporn_narak/to1.htm
                        http://missthalassemia.exteen.com/20060927/y-y

สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อมวลชนที่มีราคาถูกที่สุด

สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อมวลชนที่มีราคาถูกที่สุด
                
สื่อสิ่งพิมพ์เสนอเรื่องราวที่สามารถเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานได้     คงสภาพนานเมื่อประสงค์อ่านหรืออ้างอิงก็สามารถทำได้  สื่อสิ่งพิมพ์เมื่อซื้อมาแล้วจะเปิดอ่านเมื่อใดก็ได้แล้วแต่อารมณ์  เรื่องอารมณ์  เรื่องที่ลงในหนังสือพิมพ์มีหลายรสสื่อสิ่งพิมพ์เสนอเรื่องราวที่สามารถเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานได้คงสภาพนานเมื่อประสงค์อ่านหรืออ้างอิงก็สามารถทำได้สื่อสิ่งพิมพ์ให้ข่าวสาร   และรายละเอียดได้อย่างลึกซึ้งมากกว่าวิทยุโทรทัศน์สื่อสิ่ง พิมพ์เป็นสื่อมวลชนที่แตกต่างไปจากสิ่งพิมพ์ประเภทอื่น  ข่าวสารต่าง ๆ เป็นเรื่องใหม่น่าสนใจชักจูงให้อยากอ่านอ่านแล้วเกิดความรู้และเข้าใจ เหตุการณ์ต่างๆ มีข้อมูลในการตัดสินใจบางกรณี ทำให้มองเหตุการณ์ต่างๆด้วยทัศนะอันกว้างและพัฒนา ความรู้สึกนึกคิดเป็นอย่างดี  เมื่อเปรียบเทียบหนังสือพิมพ์กับสื่อมวลชนประเภทอิเล็กทรอนิกส์ในด้านการเสนอข่าวหรือเรื่องราวต่าง ๆ แล้วพบว่าหนังสือพิมพ์มีข้อได้เปรียบดังนี้ คือ
ด้านความเชื่อถือได้  (Reliability)
          คนเรามักจะมั่นใจในสิ่งที่ได้อ่านมากกว่าสิ่งที่ได้ยิน และแม้ว่าโทรทัศน์จะทำให้เราเห็นภาพก็จริง แต่เป็นการเห็นภาพเพียงแวบเดียว สื่อสิ่งพิมพ์จึงให้ความมั่นใจต่อผู้รับข่าวสารในประการนี้มากกว่าสื่อมวลชนประเภทอื่น
ด้านความสมบูรณ์  (
Completeness)
          สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์ย่อมให้รายละเอียดของข่าวสารได้มากกว่าวิทยุหรือโทรทัศน์
ด้านการอ้างอิง (
Deferability)
          ผู้อ่านสื่อสิ่งพิมพ์สามารถกลับมาอ่านเรื่องราวที่ได้อ่านแล้วอีกครั้งหรือหลายครั้งก็ได้และอ่าน ในเวลาใดก็ได้ส่วนวิทยุและโทรทัศน์นั้นผู้ฟังและผู้ชมจะต้องไม่พลาดเวลาออกอากาศ
ด้านการย้ำ (
Repetition)
          สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์อาจลงข่าวเดียวกันติดต่อกันหลายวันและ ทุกครั้งมีรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะน่าเบื่อสำหรับผู้รู้แต่เป็นการกระตุ้น มวลชนให้เกิดความ ตื่นเต้นเกิดอารมณ์ร่วมมีการเรียนรู้ ได้เป็นอย่างดี และช่วยเผยแพร่ต่อๆกันไป วิทยุอาจ รายงานข่าวซ้ำกัน ได้ก็จริงแต่มี โอกาสน้อยที่จะเติมรายละเอียด ส่วนโทรทัศน์มีโอกาส เสนอข่าว ซึ่งน้อยกว่าวิทยุ และมีโอกาสขยายความได้น้อยกว่าหนังสือพิมพ์

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์มีบทบาท ดังต่อไปนี้

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์มีบทบาท ดังต่อไปนี้
          1. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์มีความสำคัญในด้านการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร สาระ และความบันเทิง ซึ่งเมื่องานสื่อมวลชนต้องเผยแพร่ จึงต้องผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์, วารสาร, นิตยสาร เป็นต้น
          2. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในสถานศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ถูกนำไปใช้ในสถานศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งทำให้ผู้เรียน ผู้สอนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เช่น หนังสือ ตำรา แบบเรียน แบบฝึกหัดสามารถพัฒนาได้เป็นเนื้อหาในระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
          3. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานด้านธุรกิจ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ถูกนำไปใช้ในงานธุรกิจประเภทต่าง ๆ เช่น งานโฆษณา ได้แก่ การผลิต หัวจดหมาย/ซองจดหมาย, ใบเสร็จรับเงิน/ใบส่งของ, โฆษณาหน้าเดียว, นามบัตร เป็นต้น
         4. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานธนาคารงานด้านการธนาคาร ซึ่งรวมถึง งานการเงินและงานที่เกี่ยวกับ หลักฐานทางกฎหมาย ได้นำสื่อสิ่งพิมพ์หลาย ๆ ประเภทมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น ใบนำฝาก, ใบถอน, ธนบัตร, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน และหนังสือเดินทาง
         5. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก สื่อสิ่งพิมพ์ที่ทางห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้า ปลีกใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ใบปิดโฆษณาต่าง ๆ ใบปลิว, แผ่นพับ, จุลสาร
            การสื่อสิ่งพิมพ์มีลักษณะพิเศษหลายประการทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังคงเป็นสื่อที่มีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบันแม้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าการใช้สื่อสิ่งพิมพ์จะลดน้อยลง และจะหายไปจากบรรณพิภพเนื่องจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สื่ออินเทอร์เน็ตจะเข้ามาแทนที่ อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตข้างต้นยังไม่เป็นความจริงในเวลา นี้เพราะ ข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของสังคมไทย ในที่นี้จะขอกล่าวถึงลักษณะพิเศษของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังมีความสำคัญอยู่เวลานี้

สิ่งพิมพ์ เป็นสิ่งที่มีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อมวลชนประเภทอื่น ๆ

รูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์

รูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์
สำหรับรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์แบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ
1. ระบบการพิมพ์ (printing System) หมายถึง การใช้แท่นพิมพ์กระดาษ และหมึกพิมพ์ในการ
ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ออกมาได้เป็นจำนวนมากในเวลาอันสัน มีอยู่หลายระบบด้วยกันคือ
         1.1 การพิมพ์แบบแม่พิมพ์หรือเลตเทอร์เพรส (Letter Press)
มีต้นแบบมาจากการ์ตูนเบิร์กโดยตัว
พิมพ์จะนูนโดดขึ้นมาในกระจกเงา คิอกลับซ้าย-ขวาเมื่อกลิ้งหมึกผ่านแล้วป้อนกระดาษไปปิดทับ
         1.2 การพิมพ์แบบแม่พิมพ์แบบร่องลึกหรือโรโทกราวร์ (Rotogravure) คือตัวพิมพ์แท่นที่จะ
          นูนก็กลับตรงกันข้ามคือเป็นร่องลึกลงไป หมึกจะถูกใสลงไปในร่อง และเมื่อกดกระดาษลงไปหมึกในร่อง
ตัวพิมพ์จะถูกซึมไปปรากฎอยู่บนกระดาษซึ่งวิธีการพิมพ์แบบนี้ค่อนข้างยาก
          1.3 การพิมพ์แบบแม่พิมพ์แบบแบนหรือออฟปริ้นติ้ง
          การพิมพ์แบบนี้ได้นำการถ่ายภาพที่ต้องการจะพิมพ์ลงบนแผ่นอโลมีเนียมซึ่งเรียกว่าแผ่นพิมพ์เพทจากนั้นจากนั้นก็จะนำไปอาบนำยาเคมีที่จะบังคับให้สีใดสามารถติดได้อยู่บนบริเวณใดที่ต้องการให้ติดวิธีนี้ภาพในแผนพิมพ์จึงสามารถเป็นภาพลักษณะปกติไม่ต้องกลับซ้ายกลับขวา ดังเช่นวิธีที่
2ที่ได้กล่าวมาแล้วและภาพพิมพ์ได้จะมีความคมชัดเจนสวยงามและเป็นธรรมชาติมากที่สุด ดั้งนั้น จะเห็นได้ว่าการที่โลกมนุษย์เจริญรุ่งเรืองมาตราบเท่าทุกวันนี้ ก็เนื่องจากมีการถ่ายทอดความรู้ และแนวความคิดมาจากบรรพบุรุษมาสู่ลูกหลาน โดยอาศัยสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลักซึ่งจะช่วยให้คนรุ่นหลังๆได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆจากบรรพบุรุษแล้วนำไปศึกษาค้นคว้าต่อจึงเกิดความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนอกจาดนี้สื่อสิ่งพิมพ์ยังมีบทบาทในการใช้เป็นสื่อในการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของ


ชาติและของท้องถิ่นอีกด้วย
              สื่อสิ่งพิมพ์
   จึงมีความหมายว่า สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่าง ๆประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ- หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียนเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการในศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจความหมาย ด้วยความรู้ที่เป็นจริง จึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้อย่างถูกต้อง- หนังสือบันเทิงคดีเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้เรื่องราวสมมติ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า หนังสือฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Book ได้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่

วิวัฒนาการสิ่งพิมพ์ในประเทศไทย

วิวัฒนาการสิ่งพิมพ์ในประเทศไทย

                สื่อสิ่งพิมพ์ในประเทศไทยเกิดขึ้นมาครั้งแรกเมื่อวันที่
  4    กรกฎคม  พ. ศ 2387    โดยหมอบีชนรัดเลย์ สิ่งพิมพ์ของหมอบีรัดเลย์คือหนังสื่อพิมพ์        ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นสิ่งพิมพ์แบบใหม่หลังจากการสร้างหรือประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ภาษาไทยได้  หนังสือพิมพ์ของหมอบีชถึงแม้จะเป็นหนังสื่อพิมพ์ที่ไม่สมบูรณ์นักแต่ก็ให้ได้ข่าวสารและความรู้พอสมควร

วิวัฒนาการของสิ่งพิมพ์ในต่างประเทศ

วิวัฒนาการของสิ่งพิมพ์ในต่างประเทศ
            
ในศตวรรษที่ 15 การพิมพ์เริ่มทันสมัยมากขึ้นดังนั้นมีการจึงมีการคิดค้นเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆของการพิมพ์จึงทำให้มีการกีดมีหนังสื่อพิมพ์ วารสาร หนังสือ เอกสาร ตำราต่าง ๆ  และได้มีการเอาเทคนิคของการถ่ายภาพ การใช้ฟิล์มตลอดเครื่องมือทางไฟฟ้าต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมทันสมัยมากยิ่ง

วิวัฒนาการของสิ่งพิมพ์

วิวัฒนาการของสิ่งพิมพ์ 

                การพิมพ์วิวัฒนามาประมาณ
4,000ปีมาแล้ว    หลังจากที่ชนชาติต่างๆในหลายทวีปได้เริ่มใช้วิธีเขียนเป็นสัญลักษณ์และตัวอักษรแทนคำพูด  เป็นภาษารูปลิ่มของชาวซูเบอร์ภาษาแกะสลักของชาวอียิปต์ภาษารูปภาพของชาวจีน และภาษาอักษรของชาวอินเดีย ชาวฟินิเขียน และชาวโรมัน

หน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์

หน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์

    1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ     2. เป็นแหล่งกลางในการนำเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม    3. ให้สาระและความบันเทิง    4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ    5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า

บทบาทการเป็นเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์

บทบาทการเป็นเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์

           รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือเอกชน           ตรวจสอบการปฏิบัติงานหรือพฤติกรรมที่ถูกร้องเรียนพร้อมหาข้อเท็จจริงมารายงาย           ตรวจสอบสื่อด้วยกันเองในเชิงจริยธรรม และจรรยาบรรณ

บทบาทการเป็นสุนัขยาม

บทบาทการเป็นสุนัขยาม

ประชาชนระวังกลลวง
           เฝ้าและจับตาดูการปฏิบัติงานของรัฐบาลเจ้าหน้าที่รัฐว่าการทำงานตามหน้าที่ตามนโยบายหรือไม่
           พิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนจากกลุ่มอิทธิพลนักการเมือง
           เตือนหรือเห่าให้เจาหน้าที่รัฐทำตามหน้าที่อันที่ถูกต้องหรือละเว้นการกระทำไม่ถูกต้องและเตือนให้

บทบาทการเป็นผู้แจ้งข่าวสาร

บทบาทการเป็นผู้แจ้งข่าวสาร
               มีบทบาทในการแจ้งข่าวสารให้ประชาชนทราบ เสาะหาข้อเท็จจริง รายงานแบบเจาะลึก รวมไปถึงการราย งานเชิงสืบสวนเปิดโปง

บทบาทการเป็นนายทวารประตูข่าว

          เคิร์ท เลวิน ได้ให้ความหมายของนายทวารประตูข่าว หรือคนเฝ้าประตูว่า คือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางในช่องทางการสื่อสาร     เป็นผู้ตัดสินใจข่าวสารที่ตนได้รับมานั้นจะส่งไปยังมวลชนหรือไม่     และส่งไปอย่างไร บุคคลผู้ทำหน้าที่นี้มักได้แก่   บรรณาธิการ  หัวหน้าข่าว นักข่าว  ซึ่งจะต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินเลือกและเสนอข่าวสารไปยังประชาชน

บทบาทหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์

บทบาทหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์

         
สื่อสิ่งพิมพ์เปรียบเสมือนสื่อกลางหรือกระจกสะท้อนให้เห็นลักษณะต่าง     ของสังคมบ้านเมืองหรือของประเทศนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ     สังคมประเพณีและวัฒนธรรม    โดยทำหน้าที่และบทบาทในการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล การนำเสนอ แสดงความคิดเห็นต่าง   ๆ ดังนั้นบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ก็คือ การกระทำหรือการสื่อสารของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้ส่งผลกำลังส่งผลหรือจะส่งผลต่อชีวิตและสังคม

อิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์

อิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์  
              อิทธิพลที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจ
          
 อิทธิพลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม
           อิทธิพลทีมีต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจและการเมือง
            
  ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับสังคม
                            -  เป็นสถาบันทางการสื่อสาร
                                -  เป็นตัวเชื่อมของสังคมที่มีความแตกต่างกัน
                                -  เป็นแหล่ง Information
               ปัจจัยที่มีผลต่ออิทธิพลของสื่อ (ต่อ Awareness, Knowledge, Attitude, Behavior, Decission, Culture-Socialization-Economic-Political)
            -  กฎหมาย
                -  จริยธรรมของสื่อ
                -  เทคโนโลยีการพิมพ์
                -  เทคนิคการนำเสนอ
                -  การพัฒนาระบบและเนื้อหา
                -  นักเขียน
             
-  ความละเอียดหลากหลายของข้อมูลข่าวสาร
                -  ลักษณะธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์

             ปัญหาที่มาจากตัวสื่อ
                       
-  ความรับผิดชอบ
                                -  ความซื่อสัตย์ ไม่บิดเบือน
                                -  ความเป็นกลาง ไม่มีอคติ
                                -  การสำคัญผิด

อิสรภาพและอุดมการณ์

อิสรภาพและอุดมการณ์ (อำนาจภายในของสื่อ)

            
อิสรภาพตามลัทธิความเชื่อทางศาสนา และปรัชญาของสังคม
            
อุดมการณ์ความเป็นสื่อกลางของประชาชน
            
หน้าที่ต่อการสร้างระบบสุขภาวะของประชาชน

เสรีภาพและความรับผิดชอบ

 เสรีภาพและความรับผิดชอบ (อำนาจภายนอกที่มีต่อสื่อ)
           
เสรีภาพตามกฎธรรมชาติ ศาสนา และปรัชญา ของบุคคล
           
 เสรีภาพตามกรอบกฎหมาย จริยธรรม-จรรยาบรรณ ของสิ่งพิมพ์
          
  ความรับผิดชอบของสิ่งพิมพ์ ในฐานะสถาบันการศึกษา สถาบันแห่งความเป็นกลาง และในฐานะเป็นสมบัติของประชาชน

บทบาทและหน้าที่

บทบาทและหน้าที่ ต่อการพัฒนาทุนทางสังคม
       
          1.  คน และพลังมวลชน 
                    2.  ระบบ แบบแผน กิจกรรม กิจการ พิธีกรรม
                   3.  การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
                   4.  ความรู้ และความจริง
                   5.  การสื่อสาร
                   6.  สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางจิตวิญญาณ สุขภาวะทางสังคม
                   7.  วัฒนธรรม
                   8.  ทุนที่เป็นวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ

                   9.  นวัตกรรมทางสังคม
   บทบาทหน้าที่ต่อการส่งเสริมการส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
   กฎหมาย นโยบาย และระบบการผลิต ที่มีอิทธิพลต่อบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์

บทบาทและหน้าที่

บทบาทและหน้าที่ ภายใต้ระบบของสังคม และการเมือง
            Authoritarianism
             Libertarianism
             Social responsibility
                      บทบาทหน้าที่ต่อ
-  ชนชั้นกลาง
                                                      -  นักการเมือง
                                                      -  คนรากหญ้า

บทบาทและหน้าที่

บทบาทและหน้าที่ ในกระบวนการสื่อสาร ของสื่อสิ่งพิมพ์
                 ฐานะผู้ส่งสาร (Sender, Source)

                             
- บอกวัตถุประสงค์ information, teaching, education, attention, entertain
                             - บอกเนื้อหา facts, truth
                             - รับผิดชอบเนื้อหา และวิธีการนำเสนอ การเขียน การเลือกช่องทางเผยแพร่
                             - วิเคราะห์ผู้รับสารให้ถูกตัว ถูกกลุ่ม ถูกกาละ ตรงตามต้องการ/สนใจ
                
                  ฐานะสาร (Message) สารประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ

                         - รหัสสาร (Code message)
                         - เนื้อหา (Content message)
                         - การจัดสาร (Message treatment) -“ตอกไข่ ปรุง ใส่ข้าว
                 ฐานะสื่อ (Channel)
                         - ส่งไปยังผู้รับอย่างรวดเร็ว และจำนวนมาก (สื่อสารมวลชน)
                         - มองเห็น อ่านได้
                         - คงทนถาวรกว่าสื่ออื่น
                           - ส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าสื่ออื่น
                         - ทบทวนข่าวสารได้หลายครั้ง โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ จำนวนครั้ง
                         - ราคาถูก
                 ฐานะผู้รับสาร (Reciever)
                                   
-  ความเป็นปัจเจกบุคคล (เป็นตัวของตัวเอง)
                           -  ความเป็นกลุ่มก้อน (เป็นสมาชิกกลุ่ม)
                           -  ความเป็นสื่อกลาง
                           -  เป็นผู้ใช้ หรือบริโภคข่าวสาร

บทบาทและหน้าที่

          บทบาทและหน้าที่ ภายใต้กรอบทฤษฎี

                 
ภารกิจ (Function) - ลักษณะของจรรยาบรรณ (Code  of  Ethics)   จากบันทึกความจำ       ถ่ายทอดข่าวสาร อธิบายความ (Interpretation) บทบาทต่อธุรกิจ บันเทิง  (Entertainment) เป็นสื่อกลาง  สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่ เป็นสถาบันทางสังคม รักษาสถานภาพของสังคม

ความสำคัญของสิ่งพิมพ์

ความสำคัญของสิ่งพิมพ์
                สิ่งพิมพ์ในสังคมไทยมีหลายแบบหลายลักษณะ มีทั้งที่พิมพ์ในวงจำกัดและที่พิมพ์แพร่หลายทั่วไป ตามความต้องการของสังคมและจุดมุ่งหมายของผู้ผลิต ยิ่งในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนมีความต้องการที่จะรับรู้ข่าวสารที่ดี ที่ถูกต้อง กว้างขวางและมีประสิทธิภาพ ในบรรดาสื่อต่าง ๆ ที่นำเสนอข้อมูลในปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์นับเป็นสื่อที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้
           
สิ่งพิมพ์ทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนชนิดหนึ่ง     ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้สื่ออื่น ๆ ปัจจุบันมีการสนับสนุนวงการพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานแสดงความทันสมัยของเทคโนโลยีทางการพิมพ์ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน  งานดรูปา (Drupa) จัดทุก 4  ปี  ที่เมืองดุชเชลดอร์ฟ  การจัดงานประกวดโฆษณายอดเยี่ยมของโลก (Clio Award) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา     โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประกวดงาน      โฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย  ครั้งที่ 18  ประจำปี  พ.ศ. 2536 - 2537  (Tact  Award)  มีสิ่งพิมพ์ส่งเข้าประกวดมากที่สุดถึง 697  ชิ้น  ทั้งนี้เป็นเพราะสิ่งพิมพ์มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสื่ออื่น ๆ สิ่งพิมพ์มีอิทธิพลต่อวงการต่าง ๆ

ความเป็นมาของสื่อสิ่งพิมพ์

ความเป็นมา
         
สิ่งพิมพ์ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ความสำคัญยิ่งควบคู่มากับการพัฒนาการของมนุษยชาติ   และจัดเป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมาตลอดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการถ่ายทอดความรู้วิชาการ และเพื่อการติดต่อ สื่อสารสำหรับมนุษยชาติ ดังคำจำกัดความของพจนี พลสิทธิ์  (2536 : 3)   สรุปความเป็นมาและความสำคัญของ สิ่งพิมพ์  ว่า  สิ่งพิมพ์ นับเป็นวัสดุที่แสดงถึงพัฒนา      การความเจริญก้าวหน้าทางด้านสติปัญญา  ของมนุษย์ ความคิด จินตนาการ เจตคติ ความฝัน ชีวิต วัฒนธรรม สังคม เหตุการณ์ เรื่องราวต่าง ๆ  ของมนุษย์แต่ลายุคสมัย สามารถเก็บรักษาสืบทอดจาดชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนรุ่นหลัง       ความคิดในเรื่องการพิมพ์นี้นอกเหนือจาก  เพื่อเป็นเครื่องมือในการบันทึกความคิด จินตนาการ ความรู้ และเหตุการณ์ต่างๆ แล้วยังเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าชนชาติต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนมีความพยายามที่จะพัฒนาความคิดของตนให้เจริญก้าวหน้าทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ความคิดในเรื่องการพิมพ์ที่มีจุดประสงค์เริ่มแรกก็คงเพื่อให้มีการแพร่หลายเรื่องความคิด ความรู้ ไปสู่ชนรุ่นหลัง และเพื่อให้
มีหลาย ๆ สำเนาจะได้เก็บรักษาให้คงอยู่ได้นานปีนั้น    ในยุคปัจจุบันชนรุ่นหลังได้สานต่อความคิดเรื่องการพิมพ์จนกระทั่งกลายเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย   และซับซ้อน      สามารถผลิตสิ่งพิมพ์ได้หลากหลายชนิดตอบสนองวัตถุประสงค์ของมนุษยชาติได้กว้างขวางนอกเหนือจากสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นสื่อมวลชนที่มีความเกี่ยวกันกับมนุษยชาติมานานนับพัน ๆ ปี และมีความเก่าแก่กว่าสื่อมวลชนประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่มีการใช้แพร่หลายไปทั่วโลกเช่นในปัจจุบันก็ตาม แต่สื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังเป็นสื่อที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเป็นที่นิยมของทุกชนชาติมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดก็ตาม เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร หรือสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ สาเหตุสำคัญที่ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังเป็นที่นิยมแพร่หลายมาโดยตลอด ก็เพราะบุคคลสามารถเลือกอ่านได้ตามความเหมาะสม อีกทั้งยังใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในฐานะ“สาร”

บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในฐานะสาร

          1.  บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในฐานะ ผู้รับสาร

          2.  บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในระบบสังคม
          3.  บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในการพัฒนา
         4.  ปัจจัยจำกัดบทบทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์

ความหมายของบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์

ความหมายของบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์

1.  พัฒนาการบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
2.  บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในกระบวนการสื่อสาร

3.  แสดงวัตถุประสงค์ในการสื่อสารให้แจ่มชัด
4.  มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาเพียงพอ การที่จะเสนอเนื้อหาในฐานะผู้ส่งสาร
5.  รับผิดชอบในเนื้อหาหนังสือพิมพ์ ในฐานะผู้ส่งสาร
6.  พยายามเข้าใจความสามารถและความพร้อมในการรับของผู้รับสาร
 ฐานะผู้ส่งสาร

ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์

ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์

          ความหมายของ " สื่อ "
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายคำว่า "สื่อ" ว่าหากเป็นคำกริยา หมายถึง การทำการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน ในกรณีที่เป็นคำนาม หมายถึง ผู้หรือสิ่งของที่ทำให้การติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์                                                         1. หนังสือพิมพ์ (newspaper)                                     2. นิตยสารและวารสาร ( magazine / journal)
            3. หนังสือเล่ม (book)
            4. สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ

ความหมายของการพิมพ์

ความหมายของการพิมพ์
            
คือ จำลองต้นฉบับอันหนึ่งซึ่งจะเป็นภาพหรือเป็นตัวหนังสือก็ตามออกเป็นจำนวนมาก ๆ หลายสำเนาเหมือน ๆ กัน บนวัตถุที่เป็นพื้นแบนหรือใกล้เคียงกับพื้นแบนด้วยการใช้เครื่องมือกล

ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์

ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์
               คือ สื่อที่ใช้การพิมพ์เป็นหลักเพื่อติดต่อสื่อสาร  ทำความเข้าใจกันด้วยภาษาเขียนโดยใช้วัสดุกระดาษหรือวัสดุอื่นใดที่พิมพ์ได้หลายสำเนา  เช่น ผ้า แผ่นพลาสติก

วัตถุประสงค์ของสื่อสิ่งพิมพ์

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ในอดีตและปัจจุบัน ในแง่ของบทบาทหน้าที่และอิทธิพล
2. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักการ ขั้นตอน สามารถเปรียบเทียบวิธีการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆได้                  

3. เพื่อเป็นแนวทางไปผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ให้เกิดคุณค่าแก่สังคม